วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week5 เรื่องที่นักเรียนสนใจ

'อันแจฮยอน' คุณหมอแวมไพร์จากซีรี่ย์ Blood




ถ้าพูดถึง อันแจฮยอนทุกคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาเขามากันบ้างแล้ว จากซีรี่ย์เรื่อง "My Love from the Star"(2013) ซึ่งในเรื่องเขารับบทเป็น 'ชอนยุนแจ' น้องชายของนางเอก 'ชอนซงอี' (จวนจีฮุน) นั่นเอง หนุ่มหน้าใสที่อายุจริง 26 แต่เล่นในเรื่องอายุเเค่สิบกว่าๆ





สำหรับซีรี่ย์เรื่องล่าสุดที่เขาเล่นคือ เรื่อง Blood เป็นเรื่องราวของ 'พัคจีซัง' (อันแจฮยอน) แวมไพร์เลือดบริสุทธิ์ที่ใช้ชีวิตปะปนกับมนุษย์ในฐานะศัลยแพทย์ผู้เก่งกาจ เพื่อสืบหาต้นตอสาเหตุการตายของพ่อแม่ และหาวิธีที่จะทำให้เขากลายเป็นมนุษย์ จีซังได้เข้าไปทำงานที่โรงพยาบาลแทมิน และได้พบกับ 'ยูริต้า' (กูฮเยซอน) แพทย์หญิงดีกรีหลานสาวผู้บริหารโรงพยาบาลที่แสนหยิ่งยโส และ 'อีแจอุค' (จีจินฮี) แวมไพร์ในคราบผู้อำนวยการโรงพยาบาล เขาคือบุคคลที่ฆ่าพ่อแม่ของจีซัง


มาทำความรู้จักเค้ากันดีกว่า
ชื่อ : อัน แจฮยอน / Ahn Jae-Hyeon / 안재현
ฉายา : ปลาหมึก / คาคาโอแฟน
อาชีพในวงการ : นักแสดง, นายแบบ, นักออกแบบจิวเวอร์รี่
วัน/เดือน/ปีเกิด : 1 กรกฎาคม 1987
ความสูง : 188 cm
น้ำหนัก : 67 kg
กรุ๊ปเลือด : A
งานอดิเรก : ทำอาหาร / อ่านหนังสือ / ฟังเพลง
Twitter : https://twitter.com/AAGban

ผลงานทางโทรทัศน์ : 
Blood | Beulreodeu (KBS2 / 2015) – Park Ji-Sang
You’re All Surrounded (SBS, 2014) – Park Tae-il
My Love from the Star (SBS, 2013) – Cheon Yoon-jae
ผลงานภาพยนตร์ : 
Fashion King (2014) – Kim Won-ho
Wedding Bible (2014)

มิวสิควิดีโอ : 
Baek A-yeon – “Sad Song” (2012)
K.Will – “Please Don’t” (2012)
Sistar19 – “Gone Not Around Any Longer” (2013)
Choyongpil - “Hello” (2013)
WINGS – “Hair Short” (2014)
Soyou, Kwon Soonil, Park Yongin (Urban Zakapa) – The Space Between (2014)

รางวัลที่ได้รับ :

2014 - 7th Korea Drama Awards: Mejor Nuevo Actor (You Who Came From the Stars)
2013 - 8th Asian Model Festival Awards: Mejor Modelo de Moda
2009 - 4th Asia Fashion Model Awards: Mejor Modelo Novato



ซีรี่ย์เรื่องล่าสุดที่ผู้เขียนได้ดูคือเรื่อง blood รู้สึกประทับใจตั้งเเต่ฉากเเรกที่พัคจีซังออกมา เค้าเล่นเป็นหมอที่เพอร์เฟคมากๆๆๆๆ เค้าเล่นเป็นหมอที่หล่อ มีความรู้สูง สามารถทำงานที่สบายๆ ไม่ต้องเสี่ยงอันตรายได้เเต่เค้าก็เลือกที่จะไปทำงานที่โคเชียเนีย ที่ๆเกิดสงครามอยู่ เเละก็เลือกที่จะช่วยชีวิตเด็กผู้หญิงคนนึงไว้โดยไม่กลัวความตาย ถ้าจำไม่ผิดน่าจะตั้งชื่อให้เด็กหญิงคนนั้นว่ายองฮีมัั้ง เเล้วอีกตอนนึง มันเป็นการผ่าตัดที่ยากเเละอันตรายมาก ตอนเเรกนางเอง คือ หมอยูริตาได้ทำการผ่าตัดเคสนี้เเต่ว่าทำไปทำมาเเล้วเลือดคนไข้ก็ไหลไม่หยุด จีซังก็เลยมาทำการผ่าตัดเเทนหมอยู ซึ่งเค้าก็สามารถหยุดเลือดที่ไหลออกมาเยอะนั้นได้ ผู้เขียนดูเเล้วรู้สึกประทับใจมากๆๆๆ เป็นซีรี่ย์ที่ดูเเล้วไม่ผิดหวังเลย

credit
http://www.dek-d.com/board/view/3334407/
http://webboard.yenta4.com/topic/569018
http://linedear.blogspot.com/2013/03/jae-hyun.html
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjlux-gcIzMtQQ-Nm-MatBr8X9dYufA1B0IBNmOP84IRKUzTVG4tmEHwSL2peMlQCHrd4gIF2dScutWPdvp3DiEbNSQkHu97aCaz71QJBmk8MzQtFoLjnufv4zk9HapyCTSCsXM4tov5p8/s1600/jaehyun2222222222.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhIjFfkhyRDj01YmUKQj4Eru0SjVf3-3K1izHcWbmftaHscF4WJn6SCAFC4iIAcH0wMbD3VGoWCtmZtkxe6t2eSXej9ybz36Sepf3hckyPxE_J8_HYgzp64fpFNkYLjk3kvaz_DvtTaJ-w/s1600/jaehyun77777.png
http://4.bp.blogspot.com/-mazZTljQgS8/VY-g
http://pantip.com/topic/33254741

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week4 โปรเเกรมภาษาคอมพิวเตอร์-ภาษาซี

Week4 โปรเเกรมภาษาคอมพิวเตอร์-ภาษาซี

ภาษาซี

ภาษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs)  ภาษาซีมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์

ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก

ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี  ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี


ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อมา พ.ศ. 2532 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ตีพิมพ์มาตรฐานสำหรับภาษาซีขึ้นมา เรียกกันว่า ภาษาแอนซีซี (ANSI C) หรือ ภาษาซี89 (C89) ในปีถัดมา องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้อนุมัติให้ข้อกำหนดเดียวกันนี้เป็นมาตรฐานสากล เรียกกันว่า ภาษาซี90 (C90) ในเวลาต่อมาอีก องค์การฯ ก็ได้เผยแพร่ส่วนขยายมาตรฐานเพื่อรองรับสากลวิวัตน์ (internationalization) เมื่อ พ.ศ. 2538 และมาตรฐานที่ตรวจชำระใหม่เมื่อ พ.ศ. 2542 เรียกกันว่า ภาษาซี99 (C99) มาตรฐานรุ่นปัจจุบันก็ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 เรียกกันว่า ภาษาซี11 (C11)

การออกแบบ
ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ในการมีปฏิสัมพันธ์เช่น เชิงคำสั่ง (หรือเชิงกระบวนงาน) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้แปลด้วยตัวแปลโปรแกรมแบบการเชื่อมโยงที่ตรงไปตรงมา สามารถเข้าถึงหน่วยความจำในระดับล่าง เพื่อสร้างภาษาที่จับคู่อย่างมีประสิทธิภาพกับชุดคำสั่งเครื่อง และแทบไม่ต้องการสนับสนุนใด ๆ ขณะทำงาน ภาษาซีจึงเป็นประโยชน์สำหรับหลายโปรแกรมที่ก่อนหน้านี้เคยเขียนในภาษาแอสเซมบลีมาก่อน

หากคำนึงถึงความสามารถในระดับล่าง ภาษานี้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อส่งเสริมการเขียนโปรแกรมที่ขึ้นอยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง (machine-independent) โปรแกรมภาษาซีที่เขียนขึ้นตามมาตรฐานและเคลื่อนย้ายได้ สามารถแปลได้บนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยแก้ไขรหัสต้นฉบับเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องแก้ไขเลย ภาษานี้สามารถใช้ได้บนแพลตฟอร์มได้หลากหลายตั้งแต่ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝังตัวไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์

ลักษณะเฉพาะ
ภาษาซีมีสิ่งอำนวยสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง และสามารถกำหนดขอบข่ายตัวแปรและเรียกซ้ำ เช่นเดียวกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในสายตระกูลภาษาอัลกอล ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรแบบอพลวัตช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ได้ตั้งใจ รหัสที่ทำงานได้ทั้งหมดในภาษาซีถูกบรรจุอยู่ในฟังก์ชัน พารามิเตอร์ของฟังก์ชันส่งผ่านด้วยค่าของตัวแปรเสมอ ส่วนการส่งผ่านด้วยการอ้างอิงจะถูกจำลองขึ้นโดยการส่งผ่านค่าตัวชี้ ชนิดข้อมูลรวมแบบแตกต่าง (struct) ช่วยให้สมาชิกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันสามารถรวมกันและจัดการได้ในหน่วยเดียว รหัสต้นฉบับของภาษาซีเป็นรูปแบบอิสระ ซึ่งใช้อัฒภาค (;) เป็นตัวจบคำสั่ง (มิใช่ตัวแบ่ง)

ภาษาซียังมีลักษณะเฉพาะต่อไปนี้เพิ่มเติม

ตัวแปรอาจถูกซ่อนในบล็อกซ้อนใน
ชนิดตัวแปรไม่เคร่งครัด เช่นข้อมูลตัวอักษรสามารถใช้เป็นจำนวนเต็ม
เข้าถึงหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ในระดับต่ำโดยแปลงที่อยู่ในเครื่องด้วยชนิดตัวแปรตัวชี้ (pointer)
ฟังก์ชันและตัวชี้ข้อมูลรองรับการทำงานในภาวะหลายรูปแบบ (polymorphism)
การกำหนดดัชนีแถวลำดับสามารถทำได้ด้วยวิธีรอง คือนิยามในพจน์ของเลขคณิตของตัวชี้
ตัวประมวลผลก่อนสำหรับการนิยามแมโคร การรวมไฟล์รหัสต้นฉบับ และการแปลโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข
ความสามารถที่ซับซ้อนเช่น ไอ/โอ การจัดการสายอักขระ และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ รวมอยู่ในไลบรารี
คำหลักที่สงวนไว้มีจำนวนค่อนข้างน้อย
ตัวดำเนินการแบบประสมจำนวนมาก อาทิ +=, -=, *=, ++ ฯลฯ
โครงสร้างการเขียน คล้ายภาษาบีมากกว่าภาษาอัลกอล ตัวอย่างเช่น

ใช้วงเล็บปีกกา { ... } แทนที่จะเป็น begin ... end ในภาษาอัลกอล 60 หรือวงเล็บโค้ง (...) ในภาษาอัลกอล 68
เท่ากับ = ใช้สำหรับกำหนดค่า (คัดลอกข้อมูล) เหมือนภาษาฟอร์แทรน แทนที่จะเป็น := ในภาษาอัลกอล
เท่ากับสองตัว == ใช้สำหรับเปรียบเทียบความเท่ากัน แทนที่จะเป็น .EQ. ในภาษาฟอร์แทรนหรือ = ในภาษาเบสิกและภาษาอัลกอล
ตรรกะ "และ" กับ "หรือ" แทนด้วย && กับ || ตามลำดับ แทนที่จะเป็นตัวดำเนินการ กับ ในภาษาอัลกอล แต่ตัวดำเนินการดังกล่าวจะไม่ประเมินค่าตัวถูกดำเนินการทางขวา ถ้าหากผลลัพธ์จากทางซ้ายสามารถพิจารณาได้แล้ว เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่าการประเมินค่าแบบลัดวงจร (short-circuit evaluation) และตัวดำเนินการดังกล่าวก็มีความหมายต่างจากตัวดำเนินการระดับบิต & กับ |
คุณลักษณะที่ขาดไป[แก้]
ธรรมชาติของภาษาในระดับต่ำช่วยให้โปรแกรมเมอร์ควบคุมสิ่งที่คอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างใกล้ชิด ในขณะที่อนุญาตให้มีการปรับแต่งพิเศษและการทำให้เหมาะที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มหนึ่งใดโดยเฉพาะ สิ่งนี้ทำให้รหัสสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนฮาร์ดแวร์ที่มีทรัพยากรจำกัดมาก ๆ ได้เช่นระบบฝังตัว

ภาษาซีไม่มีคุณลักษณะบางอย่างที่มีในภาษาอื่นอาทิ

ไม่มีการนิยามฟังก์ชันซ้อนใน
ไม่มีการกำหนดค่าแถวลำดับหรือสายอักขระโดยตรง (การคัดลอกข้อมูลจะกระทำผ่านฟังก์ชันมาตรฐาน แต่ก็รองรับการกำหนดค่าวัตถุที่มีชนิดเป็น struct หรือ union)
ไม่มีการเก็บข้อมูลขยะโดยอัตโนมัติ
ไม่มีข้อกำหนดเพื่อการตรวจสอบขอบเขตของแถวลำดับ
ไม่มีการดำเนินการสำหรับแถวลำดับทั้งชุดในระดับตัวภาษา
ไม่มีวากยสัมพันธ์สำหรับช่วงค่า (range) เช่น A..B ที่ใช้ในบางภาษา
ก่อนถึงภาษาซี99 ไม่มีการแบ่งแยกชนิดข้อมูลแบบบูล (ค่าศูนย์หรือไม่ศูนย์ถูกนำมาใช้แทน)
ไม่มีส่วนปิดคลุมแบบรูปนัย (closure) หรือฟังก์ชันในรูปแบบพารามิเตอร์ (มีเพียงตัวชี้ของฟังก์ชันและตัวแปร)
ไม่มีตัวสร้างและโครูทีน การควบคุมกระแสการทำงานภายในเทร็ดมีเพียงการเรียกใช้ฟังก์ชันซ้อนลงไป เว้นแต่การใช้ฟังก์ชัน longjmp หรือ setcontext จากไลบรารี
ไม่มีการจัดกระทำสิ่งผิดปรกติ (exception handling) ฟังก์ชันไลบรารีมาตรฐานจะแสดงเงื่อนไขข้อผิดพลาดด้วยตัวแปรส่วนกลาง errno และ/หรือค่ากลับคืนพิเศษ และฟังก์ชันไลบรารีได้เตรียม goto แบบไม่ใช่เฉพาะที่ไว้ด้วย
การเขียนโปรแกรมเชิงมอดูลรองรับแค่ระดับพื้นฐานเท่านั้น
การโอเวอร์โหลดฟังก์ชันหรือตัวดำเนินการไม่รองรับภาวะหลายรูปแบบขณะแปลโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุรองรับในระดับที่จำกัดมาก โดยพิจารณาจากภาวะหลายรูปแบบกับการรับทอด (inheritance)
การซ่อนสารสนเทศ (encapsulation) รองรับในระดับที่จำกัด
ไม่รองรับโดยพื้นฐานกับการทำงานแบบมัลติเทร็ดและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ไม่มีไลบรารีมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์และความจำเป็นหลายอย่างในการเขียนโปรแกรมประยุกต์
คุณลักษณะเหล่านี้จำนวนหนึ่งมีให้ใช้ได้จากส่วนขยายในตัวแปลโปรแกรมบางตัว หรือจัดสรรไว้แล้วในสภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการ (เช่นโพสซิกซ์) หรือจัดเตรียมโดยไลบรารีภายนอก หรือสามารถจำลองโดยดัดแปลงแก้ไขรหัสที่มีอยู่ หรือบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าไม่ใช่รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่เหมาะสม

พฤติกรรมไม่นิยาม
การดำเนินการหลายอย่างในภาษาซีมีพฤติกรรมไม่นิยามซึ่งไม่ถูกกำหนดว่าต้องตรวจสอบขณะแปลโปรแกรม ในกรณีของภาษาซี "พฤติกรรมไม่นิยาม" หมายถึงพฤติกรรมเฉพาะอย่างที่เกิดขึ้นโดยมาตรฐานมิได้ระบุไว้ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็ไม่มีในเอกสารการใช้งานของภาษาซี หนึ่งในชุดคำสั่งที่มีชื่อเสียงและน่าขบขันจากกลุ่มข่าว comp.std.c และ comp.lang.c นั้นทำให้โปรแกรมเกิดปัญหาที่เรียกว่า "ปิศาจที่ออกมาจากจมูกของคุณ" (demons to fly out of your nose) บางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติอันเป็นผลมาจากพฤติกรรมไม่นิยามทำให้เกิดจุดบกพร่องที่ยากต่อการตรวจสอบและอาจทำให้ข้อมูลในหน่วยความจำผิดแปลกไป ตัวแปลโปรแกรมบางชนิดช่วยสร้างการดำเนินงานที่ทำให้พฤติกรรมนั้นดีขึ้นและมีเหตุผล ซึ่งแตกต่างจากการแปลโดยตัวแปลชนิดอื่นที่อาจดำเนินงานไม่เหมือนกัน สาเหตุที่พฤติกรรมบางอย่างยังคงไว้ว่าไม่นิยามก็เพื่อให้ตัวแปลโปรแกรมบนสถาปัตยกรรมชุดของคำสั่งเครื่องที่หลากหลาย สามารถสร้างรหัสที่ทำงานได้ในพฤติกรรมที่นิยามอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญของภาษาซีในฐานะภาษาสำหรับสร้างระบบ ดังนั้นภาษาซีจึงส่งผลให้เกิดความรับผิดชอบของโปรแกรมเมอร์เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่นิยาม โดยอาจใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อค้นหาส่วนของโปรแกรมว่าพฤติกรรมใดบ้างที่ไม่นิยาม ตัวอย่างของพฤติกรรมไม่นิยามเช่น

การเข้าถึงข้อมูลนอกขอบเขตของแถวลำดับ
ข้อมูลล้น (overflow) ในตัวแปรจำนวนเต็มมีเครื่องหมาย
ฟังก์ชันที่กำหนดไว้ว่าต้องส่งค่ากลับ แต่ไม่มีคำสั่งส่งกลับ (return) ในฟังก์ชัน ในขณะเดียวกันค่าส่งกลับก็ถูกใช้งานด้วย
การอ่านค่าตัวแปรโดยที่ยังไม่ได้กำหนดค่าเริ่มต้น
การดำเนินการเหล่านี้ทั้งหมดเป็นข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม ซึ่งสามารถปรากฏในการใช้ภาษาโปรแกรมอื่น ๆ จำนวนมาก ภาษาซีจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์เพราะมาตรฐานของมันสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมไม่นิยามในหลายกรณีได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงพฤติกรรมบางอย่างที่อาจนิยามไว้อย่างดีแล้ว และไม่มีการระบุกลไกการจัดกระทำต่อข้อผิดพลาดขณะทำงานเลย

ตัวอย่างหนึ่งของพฤติกรรมไม่นิยามเช่นการเรียกใช้ fflush() บนกระแสข้อมูลป้อนเข้า ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะทำให้โปรแกรมทำงานผิดพลาด แต่ในบางกรณีที่การทำให้เกิดผลที่สอดคล้องกันได้นิยามไว้แล้วอย่างดี มีความหมายซึ่งใช้ประโยชน์ได้ (จากตัวอย่างนี้คือการสมมติให้ข้อมูลที่ป้อนเข้าถูกละทิ้งทั้งหมดจนถึงอักขระขึ้นบรรทัดใหม่ตัวถัดไป) เป็น ส่วนขยาย ที่อนุญาต ส่วนขยายที่ไม่เป็นมาตรฐานเช่นนี้เป็นข้อจำกัดความสามารถในการเคลื่อนย้ายซอฟต์เเวร์

ภาษาเคแอนด์อาร์ซี
เมื่อ พ.ศ. 2521 ไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) และเดนนิส ริตชี ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกชื่อ เดอะซีโปรแกรมมิงแลงกวิจ (The C Programming Language)  ซึ่งเป็นที่รู้จักในกลุ่มโปรแกรมเมอร์ภาษาซีว่า "เคแอนด์อาร์" (K&R อักษรย่อของผู้แต่งทั้งสอง) หนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่เป็นข้อกำหนดของภาษาอย่างไม่เป็นทางการมาหลายปี ภาษาซีรุ่นดังกล่าวจึงมักถูกอ้างถึงว่าเป็น ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ส่วนหนังสือที่ปรับปรุงครั้งที่สองครอบคลุมมาตรฐานแอนซีซีที่มีขึ้นทีหลัง

ภาษาเคแอนด์อาร์ซีได้แนะนำคุณลักษณะหลายประการเช่น

ไลบรารีไอ/โอมาตรฐาน
ชนิดข้อมูล long int (จำนวนเต็มขนาดยาว)
ชนิดข้อมูล unsigned int (จำนวนเต็มไม่มีเครื่องหมาย)
ตัวดำเนินการกำหนดค่าแบบประสมในรูปแบบ =ตัวดำเนินการ (เช่น =-) ถูกเปลี่ยนเป็น ตัวดำเนินการ= (เช่น -=) เพื่อลดปัญหาความกำกวมเชิงความหมาย อย่างเช่นกรณี i=-10 ซึ่งจะถูกตีความว่า i =- 10 แทนที่จะเป็นอย่างที่ตั้งใจคือ i = -10
แม้ว่าหลังจากการเผยแพร่มาตรฐานของภาษาซีเมื่อ พ.ศ. 2532 ภาษาเคแอนด์อาร์ซีถูกพิจารณาว่าเป็น "ส่วนร่วมต่ำสุด" อยู่เป็นเวลาหลายปี (ความสามารถในการแปลรหัสจำนวนหนึ่งเป็นคำสั่งซึ่งทำงานได้บนเครื่องใดก็ตามเป็นอย่างน้อย) ซึ่งโปรแกรมเมอร์ภาษาซีต้องจำกัดความสามารถของพวกเขาในกรณีที่ต้องการให้ระบบสามารถใช้ได้กับหลายเครื่องมากที่สุด เนื่องจากตัวแปลโปรแกรมเก่า ๆ ก็ยังคงมีการใช้งานอยู่ และการเขียนภาษาซีแบบเคแอนด์อาร์อย่างระมัดระวังสามารถเข้ากันได้กับภาษาซีมาตรฐานเป็นอย่างดี

ในภาษาซีรุ่นแรก ๆ เฉพาะฟังก์ชันที่คืนค่าไม่เป็นจำนวนเต็ม จำเป็นต้องประกาศไว้ก่อนการนิยามฟังก์ชันหากมีการเรียกใช้ อีกนัยหนึ่งคือ ฟังก์ชันที่ถูกเรียกใช้โดยไม่มีการประกาศมาก่อน ถือว่าฟังก์ชันนั้นจะคืนค่าเป็นจำนวนเต็มหากค่าของมันถูกใช้งาน ตัวอย่างเช่น

long int SomeFunction();
/* int OtherFunction(); */

/* int */ CallingFunction()
{
    long int test1;
    register /* int */ test2;

    test1 = SomeFunction();
    if (test1 > 0)
        test2 = 0;
    else
        test2 = OtherFunction();

    return test2;
}
จากตัวอย่างข้างต้น การประกาศ int ที่ถูกคัดออก สามารถละเว้นได้ในภาษาเคแอนด์อาร์ซี แต่ long int จำเป็นต้องประกาศ

การประกาศฟังก์ชันของภาษาเคแอนด์อาร์ซีไม่มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับอาร์กิวเมนต์ที่ใช้ ดังนั้นจึงไม่มีการตรวจชนิดข้อมูลพารามิเตอร์ของฟังก์ชัน แม้ว่าตัวแปลโปรแกรมบางตัวจะแสดงข้อความเตือน ถ้าฟังก์ชันถูกเรียกใช้ภายในโดยมีจำนวนอาร์กิวเมนต์ที่ผิด หรือถ้าฟังก์ชันถูกเรียกใช้หลายครั้งจากภายนอกโดยมีชนิดข้อมูลของอาร์กิวเมนต์ต่างกัน เครื่องมือภายนอกอาทิ ลินต์ (lint) ของยูนิกซ์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถตรวจสอบความคงเส้นคงวาของฟังก์ชันที่ใช้งานข้ามไฟล์รหัสต้นฉบับหลายไฟล์

หลายปีถัดจากการเผยแพร่ภาษาเคแอนด์อาร์ซี คุณลักษณะที่ไม่เป็นทางการหลายอย่างก็ถูกเพิ่มเข้ามาในภาษา ซึ่งรองรับโดยตัวแปลโปรแกรมจากเอทีแอนด์ทีและผู้ผลิตรายอื่น คุณลักษณะที่เพิ่มเหล่านี้เช่น

ฟังก์ชัน void
ฟังก์ชันที่คืนค่าเป็นชนิดข้อมูล struct หรือ union (แทนที่จะเป็นตัวชี้)
การกำหนดค่าให้กับชนิดข้อมูล struct
ชนิดข้อมูลแจงนับ (enumerated type)
ส่วนขยายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและการขาดข้อตกลงในเรื่องไลบรารีมาตรฐาน อีกทั้งความนิยมในภาษาและข้อเท็จจริงที่ว่าไม่เพียงแต่ตัวแปลโปรแกรมยูนิกซ์เท่านั้นที่พัฒนาขึ้นตามข้อกำหนดของเคแอนด์อาร์ ทั้งหมดนำไปสู่ความสำคัญของการทำให้เป็นมาตรฐาน

ภาษาแอนซีซีและภาษาไอโซซี
ดูบทความหลักที่: ภาษาแอนซีซี
ช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ภาษาซีหลายรุ่นถูกพัฒนาขึ้นสำหรับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวางรวมทั้งไอบีเอ็มพีซี ซึ่งความนิยมของมันเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อ พ.ศ. 2526 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ก่อตั้งคณะกรรมการ เอกซ์3เจ11 ขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรฐานของภาษาซี ต่อมา พ.ศ. 2532 มาตรฐานดังกล่าวได้รับการอนุมัติเป็น ANSI X3.159-1989 "Programming Language C" ซึ่งภาษารุ่นนี้มักถูกอ้างถึงว่าเป็นภาษาแอนซีซี (ANSI C) ภาษาซีมาตรฐาน หรือภาษาซี89 (C89) ในบางครั้ง

เมื่อ พ.ศ. 2533 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้รับเอามาตรฐานแอนซีซี (พร้อมการเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบ) มาเป็น ISO/IEC 9899:1990 ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกว่าภาษาไอโซซี (ISO C) หรือภาษาซี90 (C90) ดังนั้นคำว่า "ซี89" กับ "ซี90" จึงหมายถึงภาษาโปรแกรมเดียวกัน

แอนซีไม่ได้พัฒนามาตรฐานภาษาซีโดยเอกเทศอีกต่อไปแล้ว เหมือนเช่นองค์กรมาตรฐานแห่งชาติอื่น ๆ แต่ก็คล้อยตามมาตรฐานไอโซซี การรับเอามาตรฐานระดับชาติมาปรับปรุงเป็นมาตรฐานระดับสากล เกิดขึ้นภายในปีเดียวกับที่เผยแพร่มาตรฐานไอโซ

จุดมุ่งหมายหนึ่งของกระบวนการสร้างมาตรฐานให้ภาษาซีคือเพื่อสร้างซูเปอร์เซตของภาษาเคแอนด์อาร์ซี ผสมผสานคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ยังไม่เป็นทางการซึ่งแนะนำต่อกันมา คณะกรรมการมาตรฐานได้รวมคุณลักษณะหลายประการเพิ่มเข้ามาอาทิ ฟังก์ชันโพรโทไทป์ (ยืมมาจากภาษาซีพลัสพลัส), ตัวชี้ void, รองรับการจัดเรียงท้องถิ่น (locale) และชุดอักขระสากล, และการปรับปรุงตัวประมวลก่อนให้ดีขึ้น วากยสัมพันธ์สำหรับการประกาศพารามิเตอร์ถูกเพิ่มเข้ามาให้เหมือนกับรูปแบบที่ใช้ในภาษาซีพลัสพลัส แม้ว่าการเขียนแบบเคแอนด์อาร์ก็ยังสามารถใช้ได้เพื่อความเข้ากันได้กับรหัสต้นฉบับที่มีอยู่แล้ว

ภาษาซีรุ่นนี้ยังคงรองรับในตัวแปลโปรแกรมในปัจจุบัน และรหัสภาษาซีส่วนใหญ่ที่เขียนขึ้นทุกวันนี้ก็ใช้พื้นฐานมาจากรุ่นนี้ โปรแกรมใด ๆ ที่เขียนขึ้นด้วยภาษาซีมาตรฐานโดยไร้สมมติฐานว่าขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ใด จะทำงานได้อย่างถูกต้องบนแพลตฟอร์มใดก็ตามด้วยการพัฒนาภาษาซีที่สอดคล้องกันภายในทรัพยากรที่จำกัด หากไม่ระมัดระวังเช่นนั้น โปรแกรมอาจแปลได้เฉพาะบนแพลตฟอร์มหนึ่งหรือด้วยตัวแปลตัวหนึ่งเท่านั้น อันเนื่องมาจากการใช้ไลบรารีไม่มาตรฐานเช่นไลบรารีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ก็ดี หรือความเชื่อมั่นต่อสมบัติเฉพาะของแพลตฟอร์มหรือตัวแปลหนึ่ง ๆ เช่นขนาดที่แท้จริงของชนิดข้อมูลหรือการลำดับข้อมูลไบต์ (endianness) ก็ดี

ในกรณีที่ต้องเลือกว่ารหัสต้องถูกแปลด้วยตัวแปลภาษาซีมาตรฐานหรือภาษาเคแอนด์อาร์ซีอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้แมโคร __STDC__ สามารถช่วยให้แบ่งแยกรหัสส่วนมาตรฐานและส่วนเคแอนด์อาร์ออกจากกัน ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งที่มีเฉพาะในภาษาซีมาตรฐาน

ภาษาซี99[แก้]
ดูบทความหลักที่: ภาษาซี99
หลังจากกระบวนการทำให้เป็นมาตรฐานของแอนซี/ไอโซแล้ว ข้อกำหนดภาษาซียังคงนิ่งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ในขณะที่ภาษาซีพลัสพลัสกำลังก่อตัวด้วยความพยายามทำให้เป็นมาตรฐานของมันเอง การเพิ่มเติมกฎเกณฑ์ครั้งที่ 1 สำหรับมาตรฐานภาษาซีเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2538 เพื่อแก้ไขรายละเอียดบางจุดและเพิ่มการรองรับชุดอักขระสากลให้มากขึ้น ต่อมามาตรฐานภาษาซีถูกเรียบเรียงดัดแปลงใหม่และนำไปสู่การเผยแพร่ ISO/IEC 9899:1999 ออกสู่สาธารณชนใน พ.ศ. 2542 ซึ่งมักถูกอ้างถึงว่า "ซี99" (C99) มาตรฐานนี้มีการเพิ่มเติมกฎเกณฑ์แล้วสามครั้งโดย Technical Corrigenda ปัจจุบันมาตรฐานภาษาซีสากลดูแลและควบคุมโดยกลุ่ม ISO/IEC JTC1/SC22/WG14

ภาษาซี99ได้แนะนำคุณลักษณะใหม่หลายประการอาทิ ฟังก์ชันแบบแทรก (inline function) ชนิดข้อมูลใหม่หลายชนิด (เช่น long long int และ complex สำหรับจำนวนเชิงซ้อน) แถวลำดับความยาวแปรได้ (variable-length array) แมโครอาร์กิวเมนต์แปรได้ (variadic macro) และหมายเหตุในหนึ่งบรรทัดที่ขึ้นต้นด้วย // เหมือนภาษาบีซีพีแอลหรือภาษาซีพลัสพลัส ซึ่งคุณลักษณะส่วนใหญ่เคยพัฒนาไว้แล้วเป็นส่วนขยายของตัวแปลภาษาซีหลายโปรแกรม

ภาษาซี99สามารถเข้ากันได้แบบย้อนหลังกับภาษาซี90เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็จำกัดมากขึ้นในบางแง่มุม โดยเฉพาะการประกาศโดยไม่ระบุชนิด จะไม่ถูกสมมติว่าเป็น int อีกต่อไป แมโครมาตรฐาน __STDC_VERSION__ ถูกนิยามขึ้นด้วยค่า 199901L เพื่อแสดงว่ารหัสนั้นรองรับภาษาซี99 ขณะนี้ จีซีซี ซันสตูดิโอ และตัวแปลโปรแกรมอื่น ๆ ก็รองรับคุณลักษณะใหม่ของภาษาซี99เป็นจำนวนมากหรือทั้งหมดแล้ว

ภาษาซี1เอกซ์
ดูบทความหลักที่: ภาษาซี1เอกซ์
เมื่อ พ.ศ. 2550 มีกลุ่มทำงานหนึ่งเริ่มต้นขึ้นเพื่อปรับปรุงมาตรฐานภาษาซีอีกรุ่น ซึ่งเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "ซี1เอกซ์" (C1X) คณะกรรมการนี้รับเอาแนวคิดต่าง ๆ เพื่อจำกัดการเลือกคุณลักษณะใหม่ที่ยังไม่เคยมีการทดสอบพัฒนามาก่อน

Credit
1.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5
2.https://krooa.wordpress.com/c-language/



วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week3 Social Networkกับนักเรียนเเละสังคมไทย

Social Networkกับนักเรียนเเละสังคมไทย



ปัจจุบันคงไม่มีใครในโลกนี้ที่ไม่รู้จัก Social Network ไม่ว่าจะเป็น facebook  twitter  line  instagram เเละอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อคนไทยเเละสังคมไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากสิ่งเหล่านี้สะดวกเเละรวดเร็วกว่ามาก Social Network มีทั้งประโยชน์เเละโทษ เเล้ว Social Network นั้นมีไรบ้างล่ะ ไปดูตัวอย่างเเบบง่ายๆกันดีกว่า

facebook



line


twitter


instagram


skype


whatsapp


snapchat

Social Network มีผลต่อสังคมปัจจุบันมาก สังเกตได้จากสภาพสังคมในขณะนี้ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องมีโทรศัพท์ไว้คอยอัพเดทเรื่องตัวเองผ่าน social network ตัวอย่างเช่นบนรถเมล์ เวลาขึ้นรถเมล์ทุกคนก็จะมือไม่เคยที่จะว่างเนื่องจากถือโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา บางคนก็นั่งเล่น social network อย่างเงียบๆ เเต่บางคนนั่งเซลฟี่โดยไม่เกรงใจคนรอบข้างส่งผลให้คนรอบข้างเกิดความรำคาญ อีกตัวอย่างเช่นในโรงเรียน social network มีผลกระทบอย่างมาก ครูบางคนอำนวยความสะดวกให้นักเรียนโดยการให้ส่งงานผ่านทาง social network ได้ นี่จึงเป็นเหตุผลบางส่วนที่ทำให้social networkจึงมีผลกระทบในโรงเรียน

Social network จะมีประโยชน์อย่างมากหากเราใช้อย่างถูกทาง เช่น ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งจดหมายลง เพราะว่าหากใช้ไลน์หรือเฟซบุ๊คหรืออื่นๆในการส่งข้อความจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการส่งจดหมายลง  อย่างที่สองหากว่าอยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่นเราอยู่ที่ไทย ส่วนพ่อทำงานอยู่ที่ต่างประเทศ เราก็สามารถติดต่อสื่อสารผ่านทาง social network ถ้าเราเล่น social network เราก็จะทันข่าวเเต่ว่าข่าวที่ได้รับมาเราต้องกรองก่อนว่ามีค่าความน่าเชื่อถือมากเเค่ไหน เพราะว่าบางข่าวมันมีเเต่เรื่องโกหก เราไม่ค่อยจะหาความจริงจากโลกมายานี้ได้เท่าไร เวลาจะโพสต์อะไรหรือจะลงอะไรก็ต้องคิดให้ดีก่อนลง เพราะว่าข่าวในโลกเเห่งนี้มันไปเร็วเหลือเกิน เร็วยิ่งกว่าจรวดที่ติดตั้งไอพ่นสักหนึ่งพันตัว หากลงอะไรไปอย่างไม่คิด  มันก็อาจจะทำให้ภาพพจน์ของคนที่โพสต์เสียจากเรื่องที่โพสต์ได้เพียงวันเดียว 

โลกแห่งนี้มันน่ากลัวมาก สามารถที่จะทำให้คนๆนึงจากที่ไม่มีชื่อเสียงกลายเป็นคนดังในชั่วข้ามคืนไม่ว่าจะเป็นในทางที่ดีหรือในทางที่เสีย โลกเเห่งนี้มันมีคุณเเละก็มีโทษ สังคมไทยในปัจจุบันนิยมที่จะเสพข่าวจาก social network มากกว่าจากทีวีหรือว่าวิทยุ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะรับข่าวอะไรก็ควรดูจากหลายๆแหล่ง จะได้ไม่ต้องโดนหลอกจากสังคมพวกนี้


Credits
http://socialchurch.co/top-2-reasons-church-snapchat/
http://www.canorep.com/2015/03/how-to-activate-whatsapp-calling.html
http://www.windowsphone.com/th-th/store/app/skype/c3f8e570-68b3-4d6a-bdbb-c0a3f4360a51
http://www.thedrum.com/news/2014/12/10/instagram-snaps-300m-users-worldwide-overtaking-twitter
http://learnbonds.com/twitter-inc-nysetwtr-may-be-about-to-be-acquired-by-google-breaking/117238/
http://tech.mthai.com/software/18513.html
http://www.nod328.info/2014/09/facebook-logo.html

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week2 เทพีเฮรา

เทพีเฮรา (Hera)





เฮร่า (Hera) หรือภาษาโรมันว่า จูโน (Juno) เป็นราชินีของเทพธิดาทั้งหลาย เพราะเป็นชายาของซูส ฮีร่าเป็นธิดาองค์ใหญ่ของเทพไทแทนโครนัสกับเทพมารดารีอา ต่อมาในตอนหลังได้อภิเษกสมรสกับซูสเทพบดี อนุชาของนาง ทำให้นางกลายเป็นราชินีสูงสุดในสวรรค์ชั้นโอลิมปัสที่ไม่ว่าผู้ใดก็คร้ามเกรง เทวีฮีร่าไม่ชอบนิสัยเจ้าชู้ของซูส ด้วยเหตุที่ซูสเป็นคนเจ้าชู้ ทำให้ฮีร่ากลายเป็นคนขี้หึงและคอยลงโทษหรือพยาบาทคนที่มาเป็นภรรยาน้อยของซูสอยู่เสมอ เมื่อแรกที่ซูสขอแต่งงานด้วยฮีร่าปฏิเสธ และปฏิเสธเรื่อยมาจนถึง 300 ปี วันหนึ่งซูสคิดทำอุบายปลอมตัว เป็นนกกาเหว่าเปียกพายุฝนไปเกาะที่หน้าต่าง ฮีร่าสงสารก็เลยจับนกมาลูบขนพร้อมกับพูดว่า "ฉันรักเธอ" ทันใดนั้นซูสก็กลายร่างกลับคืนและบอกว่าฮีร่าต้องแต่งงานกับพระองค์ แต่ทว่าชีวิตการครองคู่ของเทวีฮีร่ากับเทพปริณายกซูสไม่ค่อยราบรื่นเท่าใดนัก มักจะทะเละเบาะแว้งเป็นปากเสียงกันตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่า ในเวลาที่เกิดฟ้าคะนองดุเดือดขึ้นเมื่อไร นั่นคือสัญญาณว่าซูสกับฮีร่าต้องทะเลาะกันเป็นแน่ เพราะ 2 เทพนี้เป็นสัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์ เมื่อท้องฟ้าเกิดอาเพศก็เหมาเอาว่าเป็นเพราะการขัดแย้งรุนแรงของ 2 เทพคู่นี้ แม้ว่าเทวีฮีร่ามีศักดิ์ศรีเป็นถึงราชินีแห่งสวรรค์หรือเทพมารดาแทนรีอา แต่ความประพฤติและอุปนิสัยของเจ้าแม่ไม่อ่อนหวานมี เมตตาสมกับเป็นเทพมารดาเลย โดยประวัติของเจ้าแม่นั้นมีทั้งโหดร้าย ไร้เหตุผล เจ้าคิดเจ้าแค้นและอาฆาตพยาบาทจนถึงที่สุด ผู้ใดก็ตามที่ถูกเทวีฮีร่าอาฆาตไว้มักมีจุดจบที่ไม่สวยงามนัก ว่ากันว่าชาวกรุงทรอยทั้งเมืองล่มจมลงไปเพราะเพลิงอาฆาตแค้นของเจ้าแม่ฮีร่านี้เอง สาเหตุเกิจาก เจ้าชายปารีสแห่งทรอยไม่เลือกให้เจ้าแม่ชนะเลิศในการตัดสินความงาม ระหว่าง 3 เทวีแห่งสวรรค์คือเทวีฮีร่า เทวีเอเธน่า และเทวีอโฟรไดที 
            รูปเขียนรูปสลักของชาวกรีกโบราณมักทำรูปของเจ้าแม่ฮีร่า เป็นเทวีวัยสาวที่สวยสง่า ซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนั้น ว่ากันว่ามีคน หลงใหลความงามของเจ้าแม่จนคลั่งไคล้หลายคน โดยเฉพาะอิกซิออน (Ixion) ราชาแห่งลาปิธี (Lapithae) ต่อมาถูกซูสเทพบดี ลงโทษอย่างรุนแรง และบางทีอาจเป็นเพราะทรนงตนว่ามีสิริโฉมงดงามก็ได้ที่มำให้เทวีฮีร่าเป็นเดือดเป็นแค้นนักที่สวามีปันใจให้สตรีอื่น จึงต้องราวีอย่าถึงที่สุดเสมอ ความร้ายกาจของเจ้าแม่เคยถึงขนาดคิดปฏิวัติโค่นอำนาจของสวามีจนเกือบสัมฤทธิ์ผล 

รื่องมีอยู่ว่า เจ้าแม่โกรธแค้นความไม่ซื่อสัตย์ของสวามีขึ้นมาอย่างเต็มกลืน จึงร่วมมือกับเทพโปเซดอน จ้าวสมุทร เชษฐาของซูเอง และเทพอพอลโลกับเทวีเอเธน่าด้วย ช่วยกันรุมจับองค์เทพซูสมัดพันธการไว้แน่นหนา จนเป็นเหตุให้เทพปริณายกซูสจวนเจียนจะสูญเสีอำนาจอยู่รำไร ก็พอดีชายาอีกองค์ของซูสนามว่า มีทิส (แปลว่าภูมิปัญญา) ได้นำผู้ช่วยเหลือมากู้สถานการณ์ทันเวลา โดยไปพาอาอีกีออน (Aegaeon) ซึ่งเป็นอสูรร้อยแขนที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงมาช่วยเหลือเทพบดีซูส อสูรตนนี้มีฤทธิ์อำนาจมากเสียจนเทพเทวาน้อยใหญ่ต้องยอมศิโรราบไปตาม ๆ กัน เมื่ออาอีกีออนมาแก้ไขให้ซูส และนั่งเฝ้าอยู่ข้างบัลลังก์ของไท้เธอ บรรดาผู้คิดกบฎปฎิวัติก็หน้าม่อย ชวนกันหนีหน้าไปหมด แผนการณ์จึงล้มครืนด้วยประการฉะนี้ องค์เทพซูสเองก็เคยร้ายกาจกับราชินีเทวีฮีร่าเหมือนกัน ทรงลงโทษลงทัณฑ์แก่เจ้าแม่อย่างไม่ไว้หน้าอยู่บ่อย ๆ นอกจากทุบตอย่างรุนแรงแล้ว ไท้เธอยังใส่โซ่ตรวนที่บาทของเจ้าแม่กับผูกข้อหัตถ์และพาหาติดกันมัดโยงโตงเตงอยู่บนท้องฟ้า จนเป็นเหตุให้เกิดตำนานเกี่ยกับเทพ ฮีฟีสทัส ขึ้นมาว่า จากการวิวาทครั้งนี้ เทพฮีฟีสทัสผู้เป็นโอรสเข้าขัดขวางมิให้พระบิดากระทำรุนแรงแก่พระมารดา ซูสเทพบดีที่กำลังโกรกริ้ว จึงจับตัวฮีฟีสทัสขว้างลงมาจากสวรรค์ กลายเป็นเทพพิการไปเลย
            เทวีฮีร่านอกจากขี้หึงแล้ว ยังช่างริษยามากอีกด้วย ครั้งหนึ่งเมื่อซูสทรงมีราชธิดานามว่า เอเธน่า ออกมาได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร ซึ่กระโดดออกจากเศียรของไท้เธอเอง เจ้าแม่ฮีร่าก็ริษยายิ่งนัก ตรัสว่าเมื่อสวามีทรงมีกุมารีด้วยองค์เองได้ นางเองก็มีได้เช่นกัน ทว่าบุตรที่เกิดจากตัวเจ้าแม่เองนั้นกลับมิได้สะสวย เรืองฤทธิ์เช่นเอเธน่า แต่เป็นอสูรร้ายน่าเกลียดน่ากลัวยิ่ง (แต่บาง ตำนานกล่าวว่าบุตรที่จากเทวีฮีร่าก็คือ ฮีฟีทัสนั่นเอง) คืออสูรร้ายไทฟีอัส (Typheus) ซึ่งผู้ใดเห็นก็หวาดกลัว เลยทำให้เทพปริณายกซูสกริ้วใหญ่ และการวิวาทบาดหมางก็เกิดขึ้นอีก เจ้าแม่ฮีร่ามีโอรสธิดากับเทพบดีซูส 4 องค์ นามว่า ฮิ๊บบี้ (Hebe) อิลลิธธียา (Ilithyia) เอเรส (Ares) และฮีฟีสทัส (Hephaestus) เทพ 2องค์หลังนี้เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเทพเอเรส คือเทพแห่งสงคราม ส่วนเทพฮีฟีสทัสคือเทพถลุงเหล็กหหรือเทพแห่งงานช่าง แม้ว่าชีวิตสมรสของเจ้าแม่ฮีร่าจะไม่ราบรื่นนัก แต่ในฐานะที่เป็นราชินีหรือเป็นมารดาแห่งสวรรค์ ฮีร่าเป็นเทพที่คุ้มครองการแต่งาน มีหลายครั้งที่เธอคอยดลใจให้วีรบุรุษได้แสดงความกล้าหาญ จึงทำให้เป็นที่เคารพนับถือในเขตโอลิมปัสเทวาลัยที่เป็นที่บูชาขนาดใหญ่ที่สุดขอเทวีฮีร่าอยู่ที่เมืองอาร์กอสเรียกว่า เดอะฮีร่าอีอุม (Heraeum)
สัญลักษณ์ของฮีร่าคือ วัว นกยูง และสิงโต พฤกษาประจำตัวของเจ้าแม่คือผลทับทิม และนกแขกเต้า

Credits:
https://sites.google.com/site/thephceakrik12365/about-me
http://pantip.com/topic/30796337
http://writer.dek-d.com/chanin34/story/viewlongc.php?id=602520&chapter=5

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week1 เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

              ปัจจุบันนี้หากพูดถึงเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันที่นักเรียนใช้ทั่วไป หลายๆคนก็จะนึกถึงโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับเเรก เนื่องจากทุกๆคนไม่ว่าจะเป็นเด็กอ.3จนถึงผู้ใหญ่ที่เรียนจบทำงานเเล้วเเละก็มีลูกเเล้ว ทุกคนต่างก็มีโทรศัพท์เป็นของตนเองทั้งนั้น ด้วยความที่โทรศัพท์เป็นเทคโนโลยีที่หาง่ายมาก สามารถพบได้ทั่วไปตามท้องตลาด ด้วยราคาที่มีความหลากหลายตั้งเเต่รุ่นที่มีราคาถูกมากจนถึงรุ่นที่มีราคาเเพงมากๆ ด้วยสีสันเเละรูปร่างที่สวยงาม ฟังก์ชันที่มีความทันสมัย เเปลกแหวกเเนวก็เป็นสาเหตุให้โทรศัพท์ได้รับความนิยมกันมากในหมู่นักเรียน จนบางครั้งโทรศัพท์จะกลายเป็นปัจจัยที่5หรือว่าอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายไปแล้ว บางคนหากไม่มีโทรศัพท์ก็อาจอยู่ไม่ได้










โทรศัพท์ก็เป็นเทคโนโลยีชนิดหนึ่ง เเล้วเทคโนโลยีคืออะไรล่ะ เรามาหาคำตอบกันดีกว่า
เทคโนโลยีคือ ?????


ทคโนโลยีก็คือการนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น


ถ้ามีคำว่าเทคโนโลยีก็ต้องมีคำว่าสารสนเทศป่ะเเล้วสารสนเทศล่ะ สารสนเทศคืออะไร



สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความรอบรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูล ความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ข้อมูลมาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล ดังนั้นถือได้ว่ายุคนี้เป็นยุคสารสนเทศ


ส่วนข้อดีของเทคโนโลยีก็มีดังนี้ครับ

        1.ลดเวลาในการทำงานลง
        2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
        3.ในความบันเทิงแก่ผู้ใช้งาน
        4.ใช้ค้นหาความรู้ได้
        5.ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน


ถ้ามีข้อดีก็มีก็ต้องมีข้อเสียใช่มั้ย ข้อเสียก็มีดังนี้
        
        1.ทำให้เกิดขยะของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
        2.ทำให้ไม่เกิดการออกกำลังกาย
        3.ทำให้มีการหลอกลวงเพิ่มขึ้น
        4.การใช้งานมากๆทำให้ลืมเทคโนโลยีสมัยเก่าลง
        5.มีการเปลี่ยนเทคโนโลยีไปมากทำให้ตามไม่ทัน




       
        เราก็รู้ข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีมาเยอะเเล้ว งั้นเรามาดูดีกว่าว่าตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่นักเรียนเค้าใช้กันมีอะไรบ้าง
      
       โทรศัพท์ นักเรียนทุกคนก็ต้องมีไว้เพื่อติดต่อกับผู้ปกครอง นัดเวลารับส่งว่าจะมารับตอนกี่โมง ให้รอที่ไหน หรือว่ามีธุระอะไรเร่งด่วนหรือเปล่า ประโยชน์ที่สองของโทรศัพท์ก็คือเอาไว้ใช้หาข้อมูลที่อาจารย์ถามซึ่งไม่มีอยู่ในบทเรียนหรือข้อมุลเพิ่มเติมที่ตัวเองอยากจะรู้ เอาไว้เล่นเกมเวลาที่อยากจะพักผ่อน โทรศัพท์จะมีประโยชน์อย่างมากหากเราใช้ถูกวิธี  เเต่ก็อย่างที่หลายๆคนเคยพูด หากมีคุณอนันต์ก็ต้องมีโทษมหันต์ หากใช้ผิดวิธีเช่น เอาไปเล่นเกมเวลาที่ครูสอน นอกจากจะโดนครูดุเเล้วก็ยังทำให้เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง สอบก็ไม่ผ่านหรือหากผ่านก็ผ่านเเบบคะเเนนไม่ดี คอมพิวเตอร์ก็เป็นเทคโนโลยีอีกอย่างที่นักเรียนนิยมใช้กันมาก เนื่องจากการสั่งงานของครูหลายๆท่านที่อำนวยความสะดวกให้นักเรียนโดยการสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งานเเละก็ปริ้นท์ส่งได้ มันจะมีประโยชน์อย่างมากหากใช้ในทางที่ถุกต้องเเต่หากเอาไปใช้ในทางที่ผิดเช่น เล่นเกมจนดึกนอกจากที่จะเสียเงินไปกับสิ่งที่ไร้ประโยชน์เเล้วยังทำเสียสายตา เเละมีเวลานอนน้อยมาก ทำให้วันที่ต้องตื่นไปเรียนตื่นไม่ไหว เรียนไปก็ไม่รู้เรื่อง เห็นมั้ยล่ะเทคโนโลยีที่เกียวกับนักเรียนมันช่วยอำนวยความสะดวกให้ก็จริง เเต่ว่าถ้าหากใช้ในทางที่ผิดมันก็จะก่อให้เกิดโทษอย่างมากมาย



Credit
http://hitech.sanook.com/1388122/

http://www.thaigoodview.com/node/100798

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99          %E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5

https://sites.google.com/site/totozzip/khxdi-khx-seiy

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=startering&group=1&month=07-2013&date=18